แบบทดสอบ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติโคลเบิร์ก

ประวัติโคลเบิร์ก

  ลอเรนซ์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg) เกิดเมื่อ 25 ตุลาคม 1927 เสียชีวิต 19 มกราคม 1987 
เป็น อเมริกันยิว นักจิตวิทยา ที่เกิดใน Bronxville, New York , ที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็น Harvard University . มีผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาคุณธรรมและเหตุผล ที่เขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับเขา ในทฤษฎีของขั้นตอนของการพัฒนาจริยธรรม 
ลูกศิษย์ใกล้ชิดของ Jean Piaget 's ทฤษฎีของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การทำงานของ Kohlberg สะท้อนและขยายความคิด ของบรรพบุรุษของเขาในเวลาเดียวกันการสร้างเขตข้อมูลใหม่ภายในจิตวิทยา "การพัฒนาคุณธรรม"
นักวิชาการเช่น เอลเลียต Turiel และ Rest เจมส์ มีการตอบสนองการทำงานของ Kohlberg กับผลงานของตัวเองอย่างมีนัยสำคัญ ในการศึกษาเชิงประจักษ์โดย Haggbloom et al,โดยใช้เกณฑ์หกเช่นการอ้างอิงและการรับรู้ Kohlberg ถูกพบว่าเป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของศตวรรษที่ 30 20

แนวคิด

เด็กยังไม่มีคุณธรรมภายในใจของตนเองเด็กเข้าใจเหตุผลของการกระทำจากการยอมรับให้เรื่องการลงโทษและการได้รับรางวัล ในพฤติกรรมที่ดี เช่น “การขโมยไม่ดี เพราะจะโดนลงโทษ”

ขั้นตอนของการพัฒนาคุณธรรม

ในปี 1958 วิทยานิพนธ์ของเขา, Kohlberg เขียนสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันในขณะนี้เป็น ขั้นตอน Kohlberg ของการพัฒนาคุณธรรม .  ขั้นตอนเหล่านี้เป็นเครื่องบินของคุณธรรมเพียงพอรู้สึกที่จะอธิบายการพัฒนาของ เหตุผลเชิงจริยธรรม . ที่สร้างในขณะที่เรียนจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยชิคาโกทฤษฎีแรงบันดาลใจจากการทำงานของ Jean Piaget และเสน่ห์กับปฏิกิริยาของเด็กที่ ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม . Kohlberg เสนอรูปแบบของการศึกษา "โสคราตีส" คุณธรรมและยืนยันความคิด ที่ดิวอี้ของการพัฒนาที่ควร เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา นอกจากนี้เขายังอธิบายวิธีการศึกษาจะมีผลต่อการพัฒนาจริยธรรมโดยการปลูกฝัง
และวิธีการที่โรงเรียนของรัฐสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาทางศีลธรรมที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
พระองค์ ทฤษฎี ถือที่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของการ มีจริยธรรม พฤติกรรมมีหกที่สามารถระบุตัวพัฒนาการที่สร้างสรรค์ ขั้นตอน - แต่ละเพิ่มเติมเพียงพอที่ตอบสนองต่อประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมมากกว่าครั้ง ในการศึกษาเหล่านี้ Kohlberg ตามการพัฒนาของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เป็น ไกลเกินกว่าวัย แต่เดิมการศึกษาก่อนหน้าโดยเพียเจต์,ที่ยังอ้างตรรกะที่และศีลธรรมพัฒนาผ่านขั้นตอนการก่อสร้าง การขยายอย่างมากเมื่อรากฐานนี้มันถูกกำหนดว่ากระบวนการของการพัฒนาจริยธรรมเป็นกังวลกับหลัก ความยุติธรรม และว่า การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด ช่วงชีวิต การเจรจาการวางไข่ได้จากผลปรัชญาของการวิจัยดังกล่าว
Kohlberg ศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยนำเสนอวิชาที่มี ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม . จากนั้นเขาก็จะจัดหมวดหมู่และจัดให้เหตุผลที่ใช้ในการตอบสนองที่เป็นหนึ่งในหกขั้นตอนที่แตกต่างกันแบ่งออกได้เป็นสามระดับ: Pre-ธรรมดาทั่วไปและการโพสต์ธรรมดา แต่ละระดับที่มีสองขั้นตอนขั้นตอนเหล่านี้อิทธิพลของผู้อื่นและได้ถูกนำมาใช้โดยผู้อื่นเช่น Rest เจมส์ ในการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ

ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก

                         ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก

                                       


โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนำแนวเชื่อทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิกของเพียเจต์ ( Piaget) คือ เชื่อว่า จริยธรรมนั้นมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเช่นกัน เพราะจริยธรรมของมนุษย์เกิดจากกระบวนการทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น โรงสร้างทางปัญญาเพิ่มพูนขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่าจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา สถานที่ วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ซึ่งความหมายว่า “ความถูกต้อง” “ความดี” “ความงาม” ขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ

นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาวิจัย (Kolberg, 1964 : 383-432) โดยวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี เกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกทำพฤติกรรมอย่างหนึ่งในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันระหว่างความต้องการส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคม และนำมาสรุปเป็นเหตุผลในการแบ่งจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับๆ ละ 2 ขั้น ดังนี้

ระดับจริยธรรม 
ระดับที่ 1. ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level ) อายุ 2-10 ปี การที่เรียกระดับนี้ว่าก่อนเกณฑ์สังคม เพราะว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์สังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์ข้อกำหนดว่าอะไรดี ไม่ดี จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น พ่อแม่ ครู หรือ เด็กที่โตกว่า จริยธรรมในระดับนี้ คือ หลีกเลี่ยงการลงโทษและคิดถึงผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เช่น การแสวงหารางวัล

ระดับที่ 2. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคมเพราะรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์

ระดับที่ 3. ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม (post conventional level) โดยปรกติคนจะพัฒนาขึ้นมาถึงระดับนี้ หลังจากอายุ 20 ปี แต่จำนวนไม่มากนัก จริยธรรมระดับนี้จะอยู่เหนือกฎเกณฑ์สังคม กล่าวคือคนจะดีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึกถึงความสำคัญและประโยชน์เสมอภาคในสิทธิมนุษยชน โดยปรกติคนจะพัฒนาถึงระดับนี้มีจำนวนไม่มากนัก

ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม 
ขั้นที่ 1. การเชื่อฟังและการลงโทษ (obedience and punishment orientation) พฤติกรรม “ดี” คือ พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รางวัล พฤติกรรม “ไม่ดี” คือพฤติกรรมที่ทำแล้งได้รับการลงโทษ

ขั้นที่ 2. กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตนเอง (instrumental relativist orientation) เด็กจะเชื่อฟังหรือทำตามผู้ใหญ่ ถ้าคิดว่าตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับความพึงพอใจ

ขั้นที่ 3. หลักการทำตามผู้อื่นเห็นชอบ (good boy nice girl orientation ) อายุ 9-13 ปี เป็นการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี

ขั้นที่ 4. หลักการทำตามกฎระเบียบสังคม (Law and order orientation) อายุ 14-20 ปี เป็นขั้นที่ยอมรับในอำนาจและกฎเกณฑ์ของสังคม พร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม

ขั้นที่ 5. หลักการทำตามสัญญาสังคม (social contract orientation) เป็นขั้นที่เน้นความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิซึ่งกันและกัน ในขั้นนี้สิ่ง ถูก-ผิด จะขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของแต่ละบุคคล


ขั้นที่ 6. หลักการทางจริยธรรมที่เป็นสากล (universal ethical principle orientation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่แต่ละบุคคลเลือกที่จะปฏิบัติตามหลักการทางจริยธรรมด้วยตัวของมันเอง และเมื่อเลือกแล้วก็ปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน 

นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับลักษณะอื่นของมนุษย์ ที่สำคัญคือ 

1. ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับระดับสติปัญญาทั่วไป และความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับความสามารถที่จะผลได้ที่ดีกว่าในอนาคต แทนที่จะรับผลที่เล็กน้อยกว่าในปัจจุบันหรือในทันที ซึ่งลักษณะนี้เรียกว่า “ลักษณะมุ่งอนาคต” 

2. ผู้มีจริยธรรมสูงจะเป็นผู้มีสมาธิดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตน และมีความภาคภูมิใจในตนเองและสภาพแวดล้อม สูงกว่าผู้มีจริยธรรมต่ำ 

3. โคลเบิร์ก (Kolberg) ได้ศึกษาจริยธรรมตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) และพบว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ ไม่ได้บรรลุจุดสมบูรณ์ในบุคคลอายุ 16 ปี เป็นส่วนมาก แต่มนุษย์ในสภาพปรกติจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมอีกหลายขั้นตอนจนอายุ 16-25 ปี 

4. การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจ ที่จะเลือกการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของบุคคลได้อย่างมีแบบแผนและยังอาจทำให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เหตุผลเชิงจริยธรรมของแต่ละบุคคลเป็นเครื่องทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของบุคคลนั้นในสถานการณ์แต่ละอย่างได้อีกด้วย 

ทฤษฏีของโคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นที่นิยมนำมาใช้กันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฏีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reasoning) เป็นฐานความคิดของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาของตะวันตกเป็นจำนวนมาก แม้ในประเทศไทย นักจิตวิทยาและนักพฤติกรรมศาสตร์ก็ได้ทำวิจัยโดยยึดกรอบแนวคิดของโคลเบิร์ก (เช่น วิจัยของดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจญปัจจนึก, 25520) 

ตามทัศนะของโคลเบิร์ก (Kolberg) จริยธรรมแต่ละขั้นเป็นผลจากการคิดไตร่ตรองซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข้อมูลที่นำมาพิจารณาส่วนหนึ่งเป็นความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ โดยเฉพาะข้อมูลที่ได้รับฟังจากทัศนะของผู้อื่นซึ่งอยู่สูงกว่าระดับของตนเอง 1 ชั้น 

วิธีปลูกฝังจริยธรรมตามแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ไม่อาจกระทำได้ด้วยการสอน หรือการปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ดู และไม่อาจเรียนรู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ จริยธรรมสอนกันไม่ได้ จริยธรรมพัฒนาขึ้นมาด้วยการนึกคิดของแต่ละบุคคล ตามลำดับขั้นและพัฒนาการของปัญญาซึ่งผูกพันกับอายุ ดังนั้นหากยังไม่ถึงวัยอันควร จริยธรรมบางอย่างก็ไม่เกิด (ชัยพร วิชชาวุธ และ ธีระพร อุวรรณโณ ,2534 : 96) 

ทฤษฏีการปลูกฝังจริยธรรมด้วยเหตุผล (moral reasoning)ของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใช้กิจกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาจริยธรรมคือ การอภิปรายและแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็น โดยมีขั้นตอนดังนี้ 

ขั้นตอนที่ 1 ผู้ดำเนินการเสนอประเด็นปัญหาหรือเรื่องราวที่มีความยากแก่การตัดสินใจ 
ขั้นตอนที่ 2 แยกผู้อภิปรายออกเป็นกลุ่มย่อยตามความคิดเห็นที่แตกต่างกัน 
ขั้นตอนที่ 3 ให้กลุ่มย่อยอภิปรายเหตุผล พร้อมหาข้อสรุปว่า เหตุผลที่ถูก – ผิด หรือควรทำ ไม่ควรทำ เพราะเหตุอะไร 
ขั้นตอนที่ 4 สรุปเหตุผลของฝ่ายที่คิดว่าควรทำและไม่ควรทำ 

จากที่กล่าวมาจะพบว่าแนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใกล้คียงกับเพียเจต์ ( Piaget) คือเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์พัฒนาการได้ตามวัย และวุฒิภาวะทางสติปัญญา พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ไม่ใช่การป้อนรูปแบบ กล่าวคือดูรูปหนึ่งจบแล้ว ดูอีกรูปหนึ่งโดยที่รูปแรกไม่ปรากฏในสายตาอีกต่อไป แต่พัฒนาการของมนุษย์จะค่อยๆพัฒนาไปตามวัน เวลา เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ตามวุฒิภาวะ จริยธรรมเก่ายังจะมีรากแก้วฝังอยู่ และพัฒนาตามกาลเวลาที่มนุษย์มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เกิดเป็นจริยธรรมใหม่ขึ้น จริยธรรมไม่ได้สร้างขึ้นภายในหนึ่งวัน คนจะมีอุปนิสัยดีงามต้องสร้างเสริมและสะสมจากการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมด้วยกระบวนการทางสังคม และจะเรียนรู้ได้ตามความสามารถของวุฒิภาวะ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่าง

แบบทดสอบ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก


                                                              แบบทดสอบ
1.เด็กชาย ก สั่งให้เด็กหญิง ข ไปแกล้งเพื่อนคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่นิสัยของเด็กหญิง ข ที่ชอบแกล้งคนอื่นแต่เด็กหญิง ข ยอมทำ จากประโยคข้างต้นจะอยู่ในพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กขั้นที่เท่าไหร่?
.ขั้นที่ 1 ขั้นการถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
.ขั้นที่ 2 ขั้นกฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
.ขั้นที่ 3 ขั้นความคาดหวังและการยอมรับในสังคม
.ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ

2.เด็กในวัย 2-10 ปี จะรู้แค่ว่า พฤติกรรมดี คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล และพฤติกรรมที่ไม่ดี คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ จะอยู่ในระดับใดในพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก?
.ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม
.ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
.ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ
.ถูกทุกข้อ

3.น้องแก้วไปโรงเรียนทุกๆวันจะแต่งกายเรียบร้อยตามกฎระเบียบของโรงเรียน อยากทราบว่าน้องมีพัฒนาการทางจริยธรรมอยู่ในขั้นใด?
.ขั้นที่ 1 ขั้นการถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
.ขั้นที่ 2 ขั้นกฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
.ขั้นที่ 3 ขั้นความคาดหวังและการยอมรับในสังคม
.ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ

4.คนในวัยใดที่รู้จักผิด-ถูก และสามารถวิจารณญาณในสิ่งที่ตนเองได้ทำว่าสิ่งไหนควรสิ่งไหนไม่ควร?
.10 ปี                                 .15 ปี                                                
.18 ปี                                 .20 ปีขึ้นไป

5.บุคคลใดทีแสดงพฤติกรรมตามกฎระเบียบของสังคมทีได้ว่างไว้?
.ทรายสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งก่อนขับรถมอเตอร์ไซต์
.มายูสอบได้ที่หนึ่งของห้องทุกปี
.มดชอบทำจิตอาสากับเพื่อนทุกๆวันหยุด
.ฟางเดินข้ามถนนใต้สะพานลอยทุกครั้ง

6.ทรายสอบได้ทีหนึ่งของห้องทุกปี ครูประจำชั้นได้ให้รางวัลแก่ทรายเพื่อเป็นแบบอย่างทีดีให้กับนักเรียน ข้อนี้เป็นพัฒนาการขั้นใด?
.ขั้นที2                                                .ขั้นที3                                                
.ขั้นที4                                                .ขั้นที5

7.เด็กชายนัทได้มีการทะเลาะวิวาทกับเพื่อนในห้อง ครูผ่านมาเห็นนักเรียนทั้งสองทะเลาะกัน จึงเรียกไปพบและสอบถามความจริงเป็นอย่างไร จากบทความดังกล่าวครูได้ใช้พัฒนาการขั้นใด?
.สัญญาสังคม
.จริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
.คุณธรรมสากล
.ผลประโยชน์ของตนเป็นใหญ่

8.ฉันจะไม่ทำสิ่งทีไม่ดี ฉันจะทำแต่สิ่งดีๆให้พ่อกับแม่ภูมิใจ จากที่กล่าวมาเด็กมีพฤติกรรมขั้นใด?
.ขั้นทีจริยธรรมของผู้อื่น
.ขั้นทีผลประโยชน์ของตนเป็นใหญ่
.ขั้นทีระเบียบระบบของสังคม
.ขั้นทีคุณธรรมสากล

9.บุคคลในข้อใด ส่งเสริมในเรื่องไม่เหมาะสม?
ก. แก้ว ตักเตือนน้องที่แสดงกริยาไม่เหมาะสมกับแขก
ข. พ่อแม่ของพลอย ชอบเข้าข้างพลอยเวลามีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนในห้องเรียน
ค. กล้า สนับสนุนเพื่อนในการประกวดร้องเพลง
ง. สุดา มักแสดงพฤติกรรมทางสีหน้าอย่างชัดเจนเวลาไม่พอใจ

10.ขั้นที่แสดงพฤติกรรมเมื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ จัดอยู่ในขั้นใด?
ก. ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ข. กฎและระเบียบสังคม
ค. ความพึ่งพอใจของตนเอง
ง. การยอมรับของกลุ่มและสังคม